การสมัครเข้าศึกษาต่อผ่านระบบรับตรง สำหรับปีการศึกษา 2556 ใกล้จะประกาศกำหนดการแล้ว การรับสมัครจะเปิดประมาณต้นพ.ย. 2555 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ยังใช้เกณฑ์การคัดเลือกคือ GAT 25% PAT1 25% PAT3 50%
เกณฑ์การคัดเลือกและวิธีการคำนวณคะแนนของการรับสมัครวิธีรับตรง ปีการศึกษา 2556
การพิจารณาคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาโดยวิธีรับตรงใช้เกณฑ์ดังนี้
- ผู้สมัครเลือกสาขาวิชาที่จะสมัครได้ 3 อันดับ จากสาขาที่รับสมัครทั้งหมดเรียงตามระดับความต้องการจากมากไปน้อย
- คะแนนของผู้สมัคร คำนวณจากองค์ประกอบต่อไปนี้
- GAT 25 %
- PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ 25 %
- PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรม 50 %
โดยจะใช้คะแนนที่ดีที่สุดของผู้สมัครจากการสอบในปี 2554 และปี 2555 (รวมการสอบครั้งที่ 1/2556 ด้วย) คะแนนแต่ละวิชาไม่จำเป็นต้องใช้คะแนนจากการสอบครั้งเดียวกันทั้งหมด ในการคิดคะแนนที่ดีที่สุดนั้น ทางคณะจะใช้คะแนนมาตรฐานปกติ (ทดลองคำนวณ) เพื่อคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ เข้าศึกษาจากคะแนน และอันดับที่ผู้สมัครเลือกไว้
การคิดคะแนนมาตรฐานปกติ
เนื่องจากคะแนน GAT, PAT1, และ PAT3 มีการสอบหลายครั้งการคิดคะแนนสำหรับแต่ละวิชา จะใช้คะแนนมาตรฐานปกติ ซึ่งจะคำนวณดังนี้
ขั้นที่ 1. คำนวณค่าคะแนนมาตรฐานโดยใช้คะแนนเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน กล่าวคือ สำหรับการสอบที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ A และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s.d.) เท่ากับ s ถ้านักเรียนสอบได้คะแนน Xi ค่าคะแนนมาตรฐานจะเท่ากับ
Zi = (Xi - A)/s
ในการคิดขั้นต่อ ๆ ไปเราจะคิดโดยคำนึงให้การเลือกคะแนนที่ดีที่สุด จะเลือกจากการสอบครั้งที่มีคะแนนมาตรฐาน Zi มากที่สุดเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีผู้ได้คะแนนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยมาก การคำนวณคะแนนโดยใช้สูตรเบื้องต้นของสทศ.จะทำให้นักเรียนได้คะแนนในวิชานั้นมากกว่า 100 คะแนน ทางคณะจึงได้ปรับสูตรดังกล่าวเพื่อรับประกันว่าจะไม่มีคะแนนเกิน 100
ขั้นที่ 1. คำนวณค่าคะแนนมาตรฐานโดยใช้คะแนนเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน กล่าวคือ สำหรับการสอบที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ A และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s.d.) เท่ากับ s ถ้านักเรียนสอบได้คะแนน Xi ค่าคะแนนมาตรฐานจะเท่ากับ
Zi = (Xi - A)/s
ในการคิดขั้นต่อ ๆ ไปเราจะคิดโดยคำนึงให้การเลือกคะแนนที่ดีที่สุด จะเลือกจากการสอบครั้งที่มีคะแนนมาตรฐาน Zi มากที่สุดเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีผู้ได้คะแนนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยมาก การคำนวณคะแนนโดยใช้สูตรเบื้องต้นของสทศ.จะทำให้นักเรียนได้คะแนนในวิชานั้นมากกว่า 100 คะแนน ทางคณะจึงได้ปรับสูตรดังกล่าวเพื่อรับประกันว่าจะไม่มีคะแนนเกิน 100
ขั้นที่ 2. คำนวณคะแนนตามสูตร
Si = 50 + 50 * (Zi/13)
จากการพิจารณาข้อมูลดิบ เราพบว่าถ้าใช้ตัวหารเป็น 13 จะไม่มีคะแนนเกิน 100 คะแนน (อย่างไรก็ตาม เลข 13 ที่ใช้ในสูตรอาจมีการปรับค่าได้ ถ้ามีสถิติการสอบที่ทำให้คะแนนเต็มเกิน 100 คะแนนได้ อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะมีผลแค่ทำให้คะแนนเต็มไม่เกิน 100 คะแนนเท่านั้น โดยจะไม่มีผลต่ออันดับคะแนนแต่อย่างใด)
ถ้านักเรียนสอบหลายครั้ง สามารถใช้คะแนนมาตรฐานปกติจากครั้งใดก็ได้ (แนะนำให้ใช้ครั้งที่ได้มากที่สุด)
Si = 50 + 50 * (Zi/13)
จากการพิจารณาข้อมูลดิบ เราพบว่าถ้าใช้ตัวหารเป็น 13 จะไม่มีคะแนนเกิน 100 คะแนน (อย่างไรก็ตาม เลข 13 ที่ใช้ในสูตรอาจมีการปรับค่าได้ ถ้ามีสถิติการสอบที่ทำให้คะแนนเต็มเกิน 100 คะแนนได้ อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะมีผลแค่ทำให้คะแนนเต็มไม่เกิน 100 คะแนนเท่านั้น โดยจะไม่มีผลต่ออันดับคะแนนแต่อย่างใด)
ถ้านักเรียนสอบหลายครั้ง สามารถใช้คะแนนมาตรฐานปกติจากครั้งใดก็ได้ (แนะนำให้ใช้ครั้งที่ได้มากที่สุด)
สถิติพื้นฐานคะแนนการสอบ GAT/PAT ปี 2556
คะแนน | 1/56 (สอบ ต.ค.55) | |
---|---|---|
mean | s.d. | |
GAT | รอผล | รอผล |
PAT1 | รอผล | รอผล |
PAT3 | รอผล | รอผล |
สถิติพื้นฐานคะแนนการสอบ GAT/PAT ปี 2555
คะแนน | 1/55 (สอบ ธ.ค.54) | 2/55 (สอบ มี.ค.55) | ||
---|---|---|---|---|
mean | s.d. | mean | s.d. | |
GAT | 130.59 | 68.04 | 142.06 | 61.34 |
PAT1 | 39.64 | 20.07 | 45.75 | 19.54 |
PAT3 | 83.45 | 32.44 | 95.07 | 32.78 |
สถิติพื้นฐานคะแนนการสอบ GAT/PAT ปี 2554
คะแนน | 1/2554 (สอบ มี.ค. 54) | |
---|---|---|
mean | s.d. | |
GAT | 171.89 | 48.04 |
PAT1 | 64.22 | 18.08 |
PAT3 | 101.95 | 40.68 |
ทดลองคำนวนคะแนน http://admission.eng.ku.ac.th/2556/admission/direct/score-cal
No comments:
Post a Comment