Thursday 17 January 2013

รับตรง 56 คณะเภสัชศาสตร์ ม.ธรรรมศาสตร์



ประวัติความเป็นมา
        ชื่อคณะ :  คณะเภสัชศาสตร์  (Faculty of  Pharmacy)
          ลักษณะการจัดตั้ง : จัดตั้งขึ้นเป็นส่วนงานภายในภายใต้การกำกับ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2531 มาตรา 8 และ มาตรา 18 (3)   
 
        ที่ตั้งคณะ  : ในระยะเริ่มต้นคณะเภสัชศาสตร์มีสำนักงานที่ทำการชั่วคราว  ที่กองแผนงาน ตึกสำนักงานอธิการบดี ชั้น 3 ศูนย์รังสิต และในปีงบประมาณ 2556 มหาวิทยาลัยมีการเตรียมการออกแบบก่อสร้าง อาคารปิยชาติ ระยะที่ 2 (ต่อเติมการก่อสร้างจากอาคารปิยชาติ) เพื่อก่อสร้างอาคารดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และจัดสรรพื้นที่ในส่วนการเรียนการสอนของคณะเภสัชศาสตร์ให้เป็นไปตามความต้องการใช้งานต่อไป  ห้องเรียนสำหรับการบรรยายใช้ห้องเรียนร่วมกันของส่วนกลาง ภายในอาคารเรียนรวมกลุ่มสุขศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ ใน 2 ปีการศึกษาแรก เป็นการเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และพื้นฐานทางเภสัชศาสตร์ จะเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะแพทยศาสตร์  
 
               ในประเทศที่พัฒนาแล้วการดูแลสุขภาพของประชาชนและการบริการด้านสาธารณสุข เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง สาขาเภสัชศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งที่นับว่า มีบทบาทและเป็นกลจักรสำคัญ ของงานด้านสาธารณสุขของประเทศ ในบริบทของระบบยา (pharmaceutical system) ซึ่งประกอบด้วย การคัดสรรและจัดหายา (drug selection and procurement)  การผลิตยา (drug production)  การกระจายยา (drug distribution)  และการใช้ยา (drug utilization)  อย่างไรก็ตาม จากรายงานการศึกษาความต้องการกำลังคนด้านเภสัชกรรมใน 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2562) โดยคณะทำงาน วิชาการกำลังคน วิชาชีพเภสัชกรรม ในคณะอนุกรรมการกำลังคนวิชาชีพเภสัชกรรม สภาเภสัชกรรม  พบว่า อัตราส่วนเภสัชกร : ประชากร ในปี พ.ศ. 2553 เท่ากับ 1:7,000 คน โดยได้มีการวางแผนกำลังคนเภสัชกร ให้อยู่ในอัตราส่วน 1: 2,000 คน ในปี พ.ศ. 2562  ซึ่งมีจำนวนความต้องการเภสัชกรถึง 36,794  คน  อย่างไรก็ตาม เภสัชกรที่ผลิตจากสถาบันการศึกษา 16 แห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชนมีเพียงประมาณปีละ 2,000 คน เท่านั้น และคาดการณ์ว่าในปี 2562 จะมีเภสัชกรทั้งหมดเข้าสู่ระบบงานเภสัชกรรมเพียงประมาณ 17,000 คน จึงมีความต้องการเภสัชกรอยู่อีกเป็นจำนวนมาก 
คณะเภสัชศาสตร์ กำลังอยู่ในขั้นตอนขอการรับรองหลักสูตรและสถาบัน
จากสภาเภสัชกรรม
คาดว่าจะรับนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม แบบรับตรง รอบหลังแอดมิชชั่น
ได้ 30 คน ในปีการศึกษา 2556
กำหนดองค์ประกอบและค่าน้ำหนัก ในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง รับตรงรอบหลังระบบกลาง ดังนี้ (Admissions) ดังนี้
1.ผลการเรียนเฉลี่ยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
GPAX  
20%
2.ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน
O-NET 
30%
3.ผลการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป
GAT
10%
4.ผลการทดสอบวัดความถนัดเฉพาะวิชาชีพ/วิชาการ
PAT 2  
40%
รวม
 
100 %

No comments: