Saturday 12 May 2012

รับตรง,Clearing House,Admissions 2556


แนะแนวระบบ รับตรง,Clearing House,Admissions 2556
 
หลายคนยังงงงวย  เอ๋ะ !!  เราจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยยังไง นิ
มันสอบยังไง สอบตรงเมื่อไร  Clearing House  คืออะไร    7 วิชาสามัญคืออะไร !?
เรามารู้จักกับระบบ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาประจำปีการศึกษา 2556 กันเลยจ้า
ปล.  ระบบมันเปลี่ยนแปลงทุกปี ยังไงก็มั่นอัพเดทข้อมูล



เมื่อเข้าชั้น ม.6 หรือเด็กจะซิ่ว โดยน้องๆจะต้องพบกับการสอบคัดเลือก ดังนี้

1 สอบ รับตรง โควตา  : เป็นการจัดสอบตรงเองโดยมหาวิทยาลัย รายละเอียดต่างมหาวิทยาลัยจะเป็นคนกำหนดเองจ้า ว่าต้องสอบวิชาอะไรบ้างช่วงไหนบ้างแต่ละมหาวิทยาลัยจะเป็นคนกำหนดเอง
2 สอบ 7 วิชาสามัญ  : เป็นการจัดสอบโดยสทศ ทั้งหมด 7 วิชาได้แก่ ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ  โดยคะแนนสามารถใช้ได้แค่ปีนั้น ๆ ไม่สามารถเก็บไปใช้ปีอื่นได้จ้า  สอบช่วงเดือน มกราคมของทุกปี
 
3 สอบ  GAT-PAT  : จัดสอบโดยสทศ ปีละ 2 ครั้ง  คะแนนสามารถเก็บไว้ได้ 2 ปี สอบเดือน ตุลาคม และ มีนาคม ของทุกปี ( ถ้าน้ำไม่ท่วมก็คงจะสอบเวลานี้ )  
 
4 สอบ  O-NET : จัดสอบ ปีละ 1 ครั้ง เดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี สอบได้ครั้งเดียวตลอดชีวิต นำคะแนนไปใช้ได้ตลอดกาล
 




ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาประจำปีการศึกษา 2556 หลัก ๆ จะมี 2 วิธีดังนี้
 รับตรง โควตา โดยใช้ผลของคะแนน รับตรง โควตา + 7 วิชาสามัญ GAT-PAT + O-NET + GPAX
 Admsisions กลาง โดยใช้ผลของคะแนน  GAT-PAT + O-NET + GPAX  

รับตรงของแต่ละสถาบันจะเป็นคนกำหนดสัดส่วนการใช้คะแนนนะครับ เช่น
มศว อาจจะสอบตรง 100 %
จุฬา คณะวิศวะใช้  GPAX+ GAT+ PAT1 + PAT3
จุฬา คณะอักษรศษสตร์  GPAX +PAT7 + 7 วิชาสามัญ :ไทย สังคม อังกฤษ
มหิดล  7 วิชาสามัญ : ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ

อันนี้เป็นตัวอย่างนะ ครับ เวลาสมัครก็ให้เราไปอ่านระเบียบการของแต่ละสถาบัน แต่ละคณะว่าใช้เกณฑ์คะแนนอะไรบ้างในการคัดเลือก แล้วเราจะได้ลงสอบ วิชานั้น ๆ  ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา


ขั้นตอนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาประจำปีการศึกษา 2556 


อ้างอิงจาก http://www.cuas.or.th/quota/document/adm55_flowchart.pdf 

ระบบ  Clearing House 
หลังจากได้ดูกราฟแล้วหลายคนอาจจะงง ๆ นิด ๆ แต่สรุป คือ ระบบ Clearing house  คือระบบยืนยันสิทธ์รับตรง  เช่น  นาย A สอบติดทั้ง จุฬา มหิดล ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เชียงใหม่ ขอนแก่น ศิลปากร มศว   โอ๋ บระเจ้าช่วยกล้วยทอด  นาย A สอบตั้งหลายมหาวิทยาลัย แนะสุดยอดไปเลย  แต่ ระบบ    จะทำให้นาย A เลือกได้เพียงมหาวิทยาลัยเดียวเท่านั้น จ้า
ระบบนี้ข้อดีคือ  จะได้ทราบว่า แต่ละมหาวิทยาลัยเหลือที่ว่างจริง ๆ เท่าไร  เพราะหลังจากเสร็จรับตรงแล้วแต่ละมหาวิทยาลัย ก็จะส่งข้อมูลว่าเหลือที่ว่างเท่าไร จะได้นำที่ว่างนี้ไปคัดเลือกใน ระบบ Admissions กลางต่อไปจ้า
ปล ข้อดีอีกข้อคือ บางคนติดหลายที่ และ ไปยืนยันสิทธ์หลายที่ทำให้เสียเงินเยอะมาก  แต่พอมีระบบนี้ขึ้นมาจะช่วยให้เราประหยัดเงินไปได้เยอะ
โดยระบบ Clearing House จะให้นักเรียนยืนยันสิทธ์ประมาณช่วงเดือน มีนาคมครับ


 
รับตรง Clearing House   !!?
ตอบ  มหาวิทยาลัย หลายแห่งใช้ ชื่อโครงการว่ารับตรงว่า    รับตรง Clearing House    สรุป แล้วมันคือชื่อโครงการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนะครับ  การตั้งชื่อโครงการแบบนี้อาจจะทำให้หลายคนสับสน  รูปตัวอย่างผมนำมาจากรับตรงของ บางมดนะครับ
ปล เมื่อก่อนจะมีหลายมหาวิทยาลัยตั้งชื่อแบบนี้ แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนชื่อเพื่อให้ไม่สับสนแล้วครับ
 


มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบ 
 Clearing House

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
 
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
มหาวิทยาลัยนครพนม
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)  

หลังจากที่น้อง ๆยื่นยันสิทธ์แล้ว ก็จะถูกส่งชื่อเพื่อตัดสิทธ์ Admissions กลางนะครับ

มหาวิทยาลัยที่ส่งรายชื่อตัดสิทธ์ Admissions 
 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยนครพนม
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 
แม้บางมหาวิทยาลัยจะไม่ได้เข้าร่วม Clearing House
แต่ก็ส่งรายชื่อเพื่อตัด Admissions กลางนะครับ
 

 
ทปอ ประกาศปรับน้ำหนัก Admissions  2556
ทุกกลุ่มสาระ ยังคง GPAX 20% และ O-NET 30%
 กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ปรับ คือ
สัตวแพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์การกีฬา GAT 20% PAT2 30%
เภสัชศาสตร์ ,GAT 10% และPAT2 40%
ทันตแพทย์/ พยาบาลเหมือนเดิม คือ  GAT 30%   PAT2 20%
สรุป  ที่เปลี่ยนไปมีเพียง เภสัชศาสตร์   จาก  GAT 20% PAT2 30%  เป็น  GAT10%  PAT2 40% 

กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ปรับสาขา วิทยาศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ  GAT 10% ,PAT1  10% และPAT2 30%
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ  GAT 10% ,PAT1 20% และ PAT2 20%
สรุป ที่เปลี่ยนไปมีเพียง สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ  จาก   GAT 10% ,PAT1  10% และPAT2 30% เป็น GAT 10% ,PAT1 20% และ PAT2 20%

กลุ่มที่ 3 วิศวกรรมศาสตร์  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ใช้  GAT 15%, PAT2 15% , PAT 3 20%

ปล. สำหรับผมกลุ่มนี้ก็น่าปรับน้ำหนักนะครับ 

กลุ่มที่ 4 สถาปัตยกรรมศาสตร์   ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ใช้ GAT 10%  PAT4  40%

กลุ่มที่ 5 เกษตรศาสตร์ ปรับสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร วนศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร  GAT 10% และPAT1 10% และPAT2 30%
สรุป  มีการปรับน้ำหนักจาก  GAT 20% PAT1 10%  PAT2 20%   น่าจะทำให้คะแนนแอดปีนี้ ลดลงจ้า

กลุ่มที่ 6 พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี เศรษฐศาสตร์ การท่องเทียว  ไม่มีการปรับน้ำหนัก
- พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์  GAT 30% PAT1  20%
- ท่องเทียว รูปแบบ 1  GAT 50 %
- ท่องเทียว รูปแบบ 2  GAT 40%   PAT7   10%


กลุ่มที่ 7 ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษา สุขภาพ รูปแบบที่ 1 GPAX 20%, O-NET 30% ,GAT 20% และPAT5 30%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% ,GAT 10% และPAT5 20% และต้องเลือกสอบ PAT 1/2/3/4/6/7 วิชาใดก็ได้ 1 วิชา 20%
สรุป  กลุ่มนี้ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากปีก่อน  ใช้ GAT20% PAT5 30% ทุกคณะเลยครับ 
โดยเฉพาะให้มีการเลือกสอบ PAT  วิชาใดก็ได้ แบบนี้จะวัดเด็กได้ตรงความต้องการของสาขาหรอ >.<  

กลุ่ม ที่ 8 ศิลปกรรมศาสตร์ ปรับ สาขา วิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ดุริยางศิลป์ นาฎศิลป์ ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ และศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม GPAX 20% , O-NET 30%, GAT 10% และเลือกสอบPAT4 หรือ 6 เพียง 1 วิชา 40%
สรุป ปีก่อนใช้ได้แค่ PAT6 เท่านั้นนะครับ แต่ปี 56 นี้ใช้ PAT4  ได้ด้วย หุหุ 
 

กลุ่ม ที่ 9 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขา นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์   GAT 30% และPAT1 20%

พื้นฐานศิลปะศาสตร์ รูปแบบที่ 1 ไม่มีการปรับเปลี่ยน  ( ใช้ GAT 50% )

พื้นฐานศิลปะศาสตร์รูปแบบที่  2  GAT 30% และPAT7 20%
สรุป อันนี้ถือว่าเป็นการกระทบต่อเด็กสายศิลป์ อย่างมากนะครับ  เพราะเมื่อก่อนใช้  GAT 40%  PAT1  10%  แต่ปรับเป็น  GAT 30% PAT1 20%  การปรัแบบนี้ทำให้เด็กสายศิลป์ เสียเปรียบสายวิทย์เต็ม ๆ  ขอให้น้องสายศิลป์ เตรียมฟิต คณิตศาสตร์ให้ดี  
สู้ๆ ครับน้องงๆ.... by Dentyne