1.ประเทศสิงคโปร์
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ
• แรงงานมีทักษะสูง
• ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
• มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
จุดอ่อน
• พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า
2.ประเทศอินโดนีเซีย
จุดแข็ง
• ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
• มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
• ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง
จุดอ่อน
• ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว
• สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก
3.ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร
• แรงงานมีทักษะ
จุดอ่อน
• จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563
• ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย
• มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง
4.ประเทศบรูไน
จุดแข็ง
• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก
• การเมืองค่อนข้างมั่นคง
• เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน
จุดอ่อน
• ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน
• ขาดแคลนแรงงาน
ประเด็นที่น่าสนใจ
• มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
• การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก
• ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก
5.ประเทศฟิลิปปินส์
จุดแข็ง
• ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน)
• แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้
จุดอ่อน
• ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน
• ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ประเด็นที่น่าสนใจ
• สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ
• การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก
6.ประเทศเวียดนาม
จุดแข็ง
• ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน)
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองจากกัมพูชา
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว
7.ประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ
• ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (1.6 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง
• ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้
8.ประเทศลาว
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ
• การเมืองมีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่
9.ประเทศพม่า
จุดแข็ง
• มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก
• มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)
จุดอ่อน
• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย
ประเด็นที่น่าสนใจ
• การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ
10.ประเทศไทย
จุดแข็ง
• เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก
• ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
• สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง
• ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง
• แรงงานจำนวนมาก
จุดอ่อน
• แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ
• เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
ประเด็นที่น่าสนใจ
• ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว
• ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53% สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง
ที่มา: งานสัมมนาเรื่อง “จังหวัดและท้องถิ่นพร้อมรุก ปรับรับ AEC”
No comments:
Post a Comment